Tax consultant services 063-964-4742
ให้บริการทีมที่ปรึกษากฎหมายภาษีโดยเฉพาะ ทีมทนายความแก้ไขปัญหากฎหมายภาษี ค่าบริการแต่ละเคส ขึ้นอยู่กับความยากง่าย พิจารณาเป็นรายเคส กรณีมีปัญหา หากได้รับเอกสารจดหมายหนังสือจากสรรพากรมาแล้ว สามารถส่งรายละเอียด แอดไลน์ iinlaw หรือส่งเข้าเมล hiinlaw@gmail.com เพื่อความรวดเร็วในการแก้ไขและเข้าใจปัญหาตรงประเด็น แก้ตรงจุด แนะนำแนวทางต่างๆเพื่อดำเนินการประกอบการตัดสินใจกับผลที่คาดว่าจะได้รับ
โทร. 063-964-4742 ไลน์ไอดี: iinlaw
บริการปรึกษาภาษี | รับปรึกษาภาษี โดยทีมทนายและที่ปรึกษาภาษีมืออาชีพ – HIINLAW
คุณมีคำถามเรื่องภาษีแต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน? จะ ปรึกษาเรื่องภาษีกับใครได้บ้าง? ปัญหาเรื่องภาษีไม่ควรปล่อยไว้นาน เพราะหากจัดการไม่ถูกต้อง อาจนำไปสู่ค่าปรับจาก กรมสรรพากร หรือความผิดทางกฎหมายภาษีอากรได้ เราขอแนะนำบริการ ปรึกษาภาษี ครบวงจรโดยทีมงาน HIINLAW – บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการ รับปรึกษาภาษี ทั้งสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
ทำไมต้องเลือกเรา?
บริษัทจัดการภาษีครบวงจร
เราคือ บริษัทจัดการภาษี ที่ให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปีในวงการกฎหมายและภาษี ให้บริการทั้งวางแผนภาษี ตรวจสอบย้อนหลัง และแก้ปัญหาภาษีเร่งด่วน
รับปรึกษาภาษีบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
ไม่ว่าจะเป็นรายได้เสริม รายได้จากออนไลน์ ธุรกิจ SME หรือบริษัทขนาดใหญ่ เรามีบริการเฉพาะทาง ทั้ง รับปรึกษาภาษีบุคคลธรรมดา และ ปรึกษาภาษีนิติบุคคล ช่วยวางแผนให้ถูกต้องตามกฎหมาย ลดภาระภาษีที่ไม่จำเป็น
ให้คำปรึกษาภาษีออนไลน์
หากคุณกำลังค้นหา “ปรึกษาภาษีออนไลน์” หรือ “ปรึกษาเรื่องภาษี จากเว็ปpantip” แล้วไม่แน่ใจในคำตอบ เราขอเสนอที่ปรึกษามืออาชีพผ่านช่องทางออนไลน์ สะดวก ปลอดภัย และแม่นยำกว่าข้อมูลทั่วไปหรือหากต้องการปรึกษาแบบละเอียด สามารถนัดเข้าปรึกษาที่บริษัทได้เลยคะ
⸻
ปัญหาภาษีที่เราช่วยคุณได้
• เมื่อคุณได้รับแจ้งประเมินภาษีย้อนหลังหรือเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังจาก กรมสรรพากร
• ถูกตรวจสอบบัญชี/ถูกเรียกเอกสาร / แก้ปัญหาภาษีทั้งระบบจากปัญหากรมสรรพากร
• วางแผนภาษีรายปีให้ถูกต้องและประหยัด
• แก้ไขภาษีซื้อ-ขายของออนไลน์
• ปรึกษาภาษีธุรกิจส่วนตัว / หุ้น / คริปโต / ที่ดิน
⸻
ปรึกษาภาษีกับ HIINLAW ดีกว่ายังไง?
• ค่าบริการชัดเจน คุ้มค่า ไม่มีค่าใช้จ่ายแฝง
• ทีมทนายและผู้สอบบัญชีภาษี (Tax Auditor) มากประสบการณ์
• ช่องทางการติดต่อสะดวก ปรึกษาได้ทั้งโทรศัพท์ ไลน์ และวิดีโอคอล
• พร้อมให้คำปรึกษาด่วนใน 24 ชม.
⸻
ช่องทางติดต่อเรา
•
โทร: 063-964-4742
•
LINE ID: iinlaw
•
เว็บไซต์: www.hiinlaw.com
•
ให้บริการทุกวัน 08:00 – 18:00 น.
⸻
บทสรุป: ปรึกษาเรื่องภาษี ต้องมั่นใจ เลือก HIINLAW
หากคุณกำลังสงสัยว่า “ปรึกษาเรื่องภาษีกับใครได้บ้าง” เราคือคำตอบ เพราะเราไม่ใช่แค่ “คนให้คำปรึกษา” แต่คือ “พันธมิตรทางกฎหมายและภาษี” ที่คุณไว้วางใจได้ ให้การ ปรึกษาภาษี เป็นเรื่องง่าย ปลอดภัย และโปร่งใส ติดต่อเราวันนี้เพื่อรับคำปรึกษาเบื้องต้น(มีค่าบริการ)
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่
ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1.บุคคลธรรมดา
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
3.ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
4.กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
5.วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะติองปฏิบัติ ดังนี้
1.ขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น
กรณีเป็นผู้มีเงินได้ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ เป็นคนต่างด้าว
หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
เว้นแต่ ผู้มีเงินได้ที่มีเลขประจำตัวประชาชนสามารถใช้เลขประจำตัวประชาชนแทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรได้
โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรอีก
- ผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร อาจยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครได้ทุกสาขาทุกแห่ง
- สำหรับในต่างจังหวัด ยื่นคำขอได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่(จังหวัด) และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ)ทุกแห่ง แล้วแต่กรณี
2. ยื่นแบบแสดงรายการปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ของปีใดก็ยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป
เว้นแต่ เงินได้บางลักษณะ เช่น การให้เช่า ทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นแบบฯ ตอนกลางปี สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรกภายในเดือนกันยายน ของทุกปี
ถ้าหากไม่ชำระภายในเวลาหรือชำระไม่ถูกต้องจะมีความรับผิด ดังนี้
1. กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน)
ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี
2. กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบ ปรากฏว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้ หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป จะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่ม และเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี
เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบ
3. กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลาต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
4. กรณีจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท
5. กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
คำพิพากษาฎีกาที่ 2379/2534
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้จ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าให้แก่บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ร่วมค้ากับโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายจำเลยให้การว่าจำเลยมิได้ประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า แต่เป็นการประเมินจากเงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าแรงที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานขับรถและคนงานของโจทก์
ดังนั้นการที่โจทก์นำสืบว่า การจ่ายเงินค่าจ้างแรงงานก่อสร้างนั้นบางครั้งโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าเหมาช่วงให้บุคคลอื่นรับไปบางส่วนจ่ายเป็นค่าจ้างแรงงานรายวัน บางส่วนจ่ายเป็นค่าจ้างคนขับรถ ซึ่งมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์ไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำฟ้องศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้องทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป จะต้องเสียเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3)
ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษอันเป็นมาตรการที่บังคับไว้เพื่อให้เกิดผลในกรณี ที่ผู้ต้องเสียภาษีไม่ยอมชำระภาษีหรือชำระภาษีไม่ครบถ้วน
แม้ผู้ต้องเสียภาษีจะเคยชำระภาษีในครั้งก่อนๆ ไว้เกินก็ไม่เป็นเหตุให้พ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ ตามกฎหมาย
***หมายเหตุ ประมวลรัษฎากร
มาตรา 89(3) ได้บัญญัติเกี่ยวกับเบี้ยปรับกรณียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30 หรือใบขนสินค้าขาเข้า) หรือแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36) ไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด หรือยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) ไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด
ให้เสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนหรือที่นำส่งคลาดเคลื่อน
ผู้เสียภาษีนิติบุคคล
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ
1. บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยกฎหมายไทย
-บริษัทจำกัด /บริษัทมหาชนจำกัด
-ห้างหุ้นส่วนจำกัด
-ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
2. บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนบุคลลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
3. กิจการซึ่งดำเนินการทางการค้าหรือหากำไร
4. กิจการร่วมค้า
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
5. มูลนิธิ หรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด
ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นโดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตาม เงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มีการบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษีที่แตกต่างกัน ดังนี้
(1) กำไรสุทธิ
(2) ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
(3) เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
(4) การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2521
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ สาขา หรือบริษัทในเครือเดียวกัน ประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ตรี
กำหนดให้การที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยด้วยและให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งไปนั้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประมวลรัษฎากรกำหนดให้ถือเฉพาะราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ
ไม่ได้บัญญัติให้บวกหรือรวมค่าระวางและค่าประกันภัยเข้ากับราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ
ในการคำนวณรายได้ของบริษัทโจทก์ที่ส่งหมากฝรั่งไปขายให้แก่บริษัท ว. ในประเทศมาเลเซียและฮ่องกง
เพื่อเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทโจทก์จึงต้องคำนวณจากราคาตลาดของหมากฝรั่งที่โจทก์จำหน่ายในประเทศไทยเท่านั้น จะบวกค่าระวางและค่าประกันภัยรวมเข้าไม่ได้
***หมายเหตุ ประมวลรัษฎากร
มาตรา 70 ตรี กำหนดให้ การส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ
ถือว่าเป็นการขายในประเทศไทยและให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งไปนั้น ซึ่งตามประมวลรัษฎากร กำหนดให้ถือเฉพาะราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัทไม่ได้กำหนดให้บวกหรือรวมค่าระวางและค่าประกันภัยเข้ากับราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัท ดังนั้น
ในการคำนวณรายได้ของบริษัทจะบวกค่าระวางและค่าประกันภัยรวมเข้าไม่ได้